วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550
"มนุษย์ลำปาง"เป็นชื่อสมมุติเรียกชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์โฮโมอีเรคตัส พบที่อำเภอเกาะคา อายุราว ๕๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ช่วงเวลาเดียวกับมนุษย์ปักกิ่งในจีน และมนุษย์ชวาในอินโดนีเซีย อันเป็นที่รับรู้และรับรองทั่วโลก ต่อไปทั้งโลกก็ต้องรับรองและรับรู้มนุษย์ลำปางด้วย ถือเป็นต้นวิวัฒนาการของมนุษย์ในเอเชียตะวันออกไกลและอุษาคเนย์
มนุษย์ลำปางอย่างนี้แหละ เป็นต้นโคตรหรือบรรพบุรุษของ"คน"ในดินแดนประเทศไทยทุกวันนี้ แต่จะยกย่องเป็นบรรพชนคนไทยหรือไม่ ก็ แล้วแต่ใครจะคิด
กว่าจะเป็นมนุษย์ลำปาง ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่นๆตั้งแต่ขนาดเล็กสุดจนใหญ่สุด และต้องมีวิวัฒนาการก่อนนั้นนับล้านๆปีถึงจะมีโฮโมอีเรคตัสมนุษย์ลำปาง
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ก็ตระหนักเรื่องนี้ดีอยู่แล้วเพราะขุดพบซากชีวิต Fozzil สัตว์นานาชนิด ในการทำเหมืองถ่านหินบริเวณนี้ แล้วยังมีแก่ใจเก็บตัวอย่างไว้ในอาคารโกโรโกโสเล็กๆลึกสุดกู่ แต่ไม่อยากเผยแพร่ให้ใครรู้ เพราะไม่อยากให้มีการอนุรักษ์ขัดรายได้มหาศาลบานตะไท
ฉะนั้นกรณีซากดึกดำบรรพ์สุสานหอย อายุราว ๑๓ ล้านปีมาแล้ว กฟผ. ต้องใช้เล่ห์กลฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ลักลอบ ละเมิดทำลายจนได้ ทั้งๆรู้อยู่แก่ใจว่ามีความสำคัญยิ่งต่อความรู้เกี่ยวกับคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังมีหน่วยราชการและองค์กรต่างๆทั้งของรัฐและเอกชน คัดค้านการกระทำอย่างนั้นแต่ไม่เป็นผล
"ตะกวดดด" มาจากไหนหว่า ??? ~ ~
ตะกวด หรือ ตัวเงินตัวทอง เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิด
หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus bengalensis
bengalensis
รูปร่าง
คล้าย "เหี้ย" โดยผู้คนมักจำสับสนกับเหี้ย แต่ตะกวด
มีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก อีกทั้งสีสันของตะกวดจะมีสี
ออกน้ำตาลๆ หรือ ออกดำๆ เล็กๆน้อยๆ ซึ่งแตกต่าง % % %
จากเหี้ยที่มีสีเหลืองผสมอยู่เป็นลาย อีกทั้งอุปนิสัย % % %
มักจะไม่ค่อยอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชอบว่ายน้ำหรือหากินในน้ำเหมือนเหี้ย และไม่ดุร้ายเท่า ตะกวด
มักอาศัยบนต้นไม้ ปีนต้นไม้เก่ง ชอบนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน มักอาศัยอยู่ตามป่าไม้
โปร่งมากกว่าป่าทึบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)